12 รายวิชาทั้งหมด
ศึกษา อภิปราย และวิเคราะห์ บทบาทของรัฐบาลเกี่ยวกับนโยบายการเงิน การคลังในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ผลกระทบของการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจในยุคโลกาภิวัตน์ที่มีผลต่อสังคมไทย และผลดีผลเสียของความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศในรูปแบบต่าง ๆ
โดยใช้กระบวนการคิด กระบวนการวิเคราะห์ สังเคราะห์ กระบวนการสืบค้น กระบวนการสร้างความรู้ความเข้าใจ กระบวนการสื่อสาร
เพื่อให้เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจหลักเศรษฐศาสตร์ ปัญหาที่เกิดขึ้น แนวทางแก้ไข รู้จักใช้
ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่ามากที่สุด เป็นแนวทางในแก้ไขปัญหาต่าง ๆให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และส่งผลให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้าต่อไปในอนาคต
ตัวชี้วัด
๑. ส ๓.๒ ม.๔-๖/๑ อธิบายบทบาทของรัฐบาลที่เกี่ยวกับนโยบายการเงิน การคลังในการพัฒนาเศรษฐกิจ
ของประเทศ
๒. ส ๓.๒ ม.๔-๖/๒ วิเคราะห์ผลกระทบของการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจในยุคโลกาภิวัฒน์ที่มีผลต่อสังคมไทย
๓. ส ๓.๒ ม.๔-๖/๓ วิเคราะห์ผลดี ผลเสียของความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศในรูปแบบต่าง ๆ
รวมทั้งหมด ๓ ตัวชี้วัด
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาวิเคราะห์และอธิบายเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ศาสดา สาระสำคัญ นิกายสำคัญ หลักคำสอน พิธีกรรม ของศาสนาสำคัญต่างๆในโลกวิเคราะห์และอธิบายหลักธรรม ของศาสนาสำคัญต่างๆในโลก ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันศึกษาความสอดคล้องของหลักคำสอนของ ศาสนาเพื่อให้มีความเข้าใจหลักคำสอนที่สำคัญของแต่ละศาสนา เห็นความสำคัญของศาสนาที่มีต่อการดำเนินชีวิต เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนิกชน และนำหลักคำสอนของศาสนามาใช้ให้เกิดประโยชน์กับตนเองและส่วนรวมโดยใช้ทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ การสืบค้นข้อมูล การรวบรวมข้อมูล การสังเคราะห์ การอธิบาย การสรุปความ กระบวนการกลุ่ม
ผลการเรียนรู้
1. อธิบายประวัติความเป็นมา ศาสดา คัมภีร์ นิกาย พิธีกรรมของศาสนาสำคัญได้อย่างถูกต้อง
2. ยกตัวอย่างหลักธรรมคำสอนของศาสนาสำคัญที่ควรศึกษาเรียนรู้
3. ตระหนักถึงความสำคัญประโยชน์ของศาสนา และอยู่ร่วมกับผู้อื่นนับถือศาสนาที่แตกต่างจากตนได้อย่างสันติสุข
ศึกษา ความสำคัญของเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ ความต่อเนื่องระหว่างยุคสมัยต่างๆ กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ไทย ตั้งแต่ความเป็นมาของชาติไทยสมัยก่อนอาณาจักรสุโขทัยจนถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ตระหนักถึงความสำคัญในความต่อเนื่องของเวลาในยุคสมัยนั้นๆ และความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ต่อการพัฒนาชาติไทย
โดยใช้ กระบวนการศึกษาค้นคว้า การอธิบาย การอภิปราย การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ กระบวนการสร้างความตระหนัก และวิธีการทางประวัติศาสตร์อย่างเป็นระบบ
ศึกษา วิเคราะห์ ความสำคัญของโครงสร้างทางสังคม การขัดเกลาทางสังคมและการเปลี่ยนแปลง ทางสังคม การแก้ปัญหาและแนวทางการพัฒนาทางสังคม การปฏิบัติตนและสนับสนุนให้ผู้อื่นประพฤติปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีของประเทศชาติและสังคมโลก วัฒนธรรมไทยที่สำคัญ การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย และเลือกรับวัฒนธรรมสากล สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและแนวทางการพัฒนา บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปัจจุบันเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ปัญหาการเมืองที่สำคัญในประเทศไทย การเมือง การปกครอง การประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศ การแลกเปลี่ยน เพื่อช่วยเหลือและส่งเสริมด้านวัฒนธรรม การศึกษา เศรษฐกิจ สังคม ความสำคัญ และความจำเป็นที่ต้องธำรงรักษาไว้ซึ่งการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การมีส่วนร่วม ในการตรวจสอบ การใช้อำนาจรัฐ กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับตนเองและครอบครัว กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับนิติกรรมสัญญา กฎหมายอาญาในเรื่องความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย กฎหมายอื่นที่สำคัญ ข้อตกลงระหว่างประเทศ
คำอธิบายรายวิชา ภูมิศาสตร์
รายวิชา พื้นฐาน ( รหัส ส 33101 ) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 เวลา 40 ชั่วโมง จำนวน 1.0 หน่วยกิต
ศึกษา ใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการค้นหา วิเคราะห์ และสรุปข้อมูลตามกระบวนการทางภูมิศาสตร์ และนำภูมิสารสนเทศมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของพื้นที่ซึ่งได้รับอิทธิพลจากปัจจัยทางภูมิศาสตร์ ลักษณะทางกายภาพซึ่งทำให้เกิดปัญหาหรือภัยพิบัติทางธรรมชาติ และปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมทางกายภาพกับกิจกรรมของมนุษย์ในการสร้างสรรค์วิถีการดำเนินชีวิตของท้องถิ่นทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก ความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ สถานการณ์ สาเหตุ และผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยและภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก ระบุมาตรการการป้องกันและแก้ไขปัญหากฎหมายและนโยบายด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บทบาทขององค์การที่เกี่ยวข้อง การประสานความร่วมมือทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ วิเคราะห์แนวทางและมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
โดยใช้ทักษะทางภูมิศาสตร์ด้านการสังเกต การแปลความข้อมูลทางภูมิศาสตร์ การใช้เทคนิคและเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ การคิดเชิงพื้นที่ การคิดแบบองค์รวม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การใช้สถิติพื้นฐาน ใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการสืบค้น วิเคราะห์และสรุปข้อมูลตามกระบวนการทางภูมิศาสตร์ กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ รวมถึงทักษะด้านการสื่อสารและการรู้เท่าทันสื่อ
เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ มีความสามารถทางภูมิศาสตร์ กระบวนการทางภูมิศาสตร์ ทักษะภูมิศาสตร์ และมีทักษะในศตวรรษที่ 21 มีคุณลักษณะด้านจิตสาธารณะ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน มีส่วนร่วมในการจัดการ พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ตัวชี้วัด
ส 5.1 ม.4-6/1 ม.4-6/2 ม.4-6/3
ส 5.2 ม.4-6/1 ม.4-6/2 ม.4-6/3 ม.4-6/4
รวม 7 ตัวชี้วัด
ศึกษาแนวคิด หลักธรรมทางศาสนาที่ตนเองนับถือ เพื่อนำคำสอนไปปฏิบัติและพัฒนาตนเองจนนำไปสู่การดำเนินชีวิตในสังคมอย่างสันติสุข
ศึกษา วิเคราะห์ สืบค้น เรื่องเวลากับยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ วิธีการทางประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอารยธรรมโบราณที่ส่งผลต่อโลกสมัยปัจจุบัน ในด้านสังคม เศรษฐกิจและการเมืองโดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์
ศึกษา วิเคราะห์
ความสำคัญของการติดต่อระหว่างโลกตะวันออกกับโลกตะวันตกที่มีผลต่อพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของโลก เหตุการณ์สำคัญต่างๆ
ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน ความร่วมมือและความขัดแย้งของมนุษยชาติในโลก สถานการณ์สำคัญของโลกในคริสต์ศตวรรษที่ 21
ศึกษาและอธิบายบทบาทของรัฐบาลด้านนโยบายการเงิน การคลังในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ วิเคราะห์การค้าและการเงินระหว่างประเทศ การเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ และผลกระทบของการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจในยุคโลกาภิวัตน์ที่มีผลต่อสังคมไทย โดยใช้กระบวนการคิด กระบวนการสื่อสาร เพื่อให้สามารถอธิบาย และวิเคราะห์บทบาทของรัฐบาลที่มีผลต่อระบบและสถาบันทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ และความจำเป็นของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในสังคมโลก