17 Courses
คำอธิบายรายวิชาเพิ่มเติม
ว33265 รายวิชาเพิ่มเติม โลกดาราศาสตร์และอวกาศ5 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 เวลา 40 ชั่วโมง จำนวน 1.0 หน่วยกิต
อธิบาย วิเคราะห์ สรุป ทดลอง สืบค้น เกี่ยวกับ การระบุตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้าบนทรงกลมฟ้า จุดและเส้นสำคัญบนทรงกลมฟ้าในระบบพิกัดขอบฟ้า การระบุตำแหน่งดาวในระบบพิกัดขอบฟ้าการระบุตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้าตามระบบพิกัดศูนย์สูตร เส้นทางการขึ้นการตกของดวงอาทิตย์และดวงดาว เวลาสุริยคติ เวลาสุริยคติปรากฏ เวลาสุริยคติปานกลางและการเทียบเวลาของแต่ละเขตเวลาบนโลก เวลามาตรฐาน การใช้ประโยชน์จากข้อมูลเวลามาตรฐาน ตำแหน่งปรากฏของดาวเคราะห์ ตำแหน่งในวงโคจรและตำแหน่งปรากฏของดาวเคราะห์ ตำแหน่งในวงโคจรและตำแหน่งปรากฏของดาวเคราะห์วงใน ตำแหน่งในวงโคจรและตำแหน่งปรากฏของดาวเคราะห์วงนอก ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับดาวเคราะห์
โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ สืบค้น นำเสนอ ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจและสรุปผลได้อย่างเหมาะสม สืบเสาะหาความรู้การสำรวจตรวจสอบ การสังเกต การสืบค้นข้อมูล เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ในวิทยาศาสตร์และนำความรู้ หลักการ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ไปเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับ โลกดาราศาสตร์ กระบวนการสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจ นำความรู้ไปใช้ในชีวิตของตนเอง ดูแลรักษาสิ่งมีชีวิตอื่น เฝ้าระวังและพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรมและค่านิยมที่เหมาะสม โดยใช้กระบวนการสืบเสาะด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ( Inquiry )
รวม 6 ผลการเรียนรู้
ว31222 เคมี2 (ครูศุภวรรณ งามแสง)
ศึกษาความหมายและคำนวณมวลอะตอม โมล มวลต่อโมล มวลโมเลกุลและมวลสูตร ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนโมล อนุภาค มวลและปริมาตรของแก๊สที่ STP กฎสัดส่วนคงที่ ร้อยละโดยมวล สูตรโมเลกุลและสูตรเอมพิริคัล
ศึกษาหน่วยความเข้มข้นของสารละลาย ในหน่วยร้อยละ ส่วนในล้านส่วน ส่วนในพันล้านส่วน โมลาริตี โมแลลิตี และเศษส่วนโมล การเตรียมสารละลายจากสารบริสุทธิ์ และจากการเจือจางสารละลายเข้มข้น เปรียบเทียบจุดเดือดและจุดหลอมเหลวของสารบริสุทธิ์และสารละลาย
ศึกษาการเขียนและดุลสมการเคมี กฎทรงมวล กฎการรวมปริมาตรแก๊สของเกย์-ลูสแซกและสมมติฐานของอาโวกาโดร คำนวณปริมาณของสารในปฏิกิริยาเคมีโดยใช้ความสัมพันธ์ระหว่างโมล มวล ความเข้มข้น และปริมาตรแก๊ส สารกำหนดปริมาณ และผลได้ร้อยละ
คำอธิบายรายวิชา
ว30103
วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
รายวิชาพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 เวลา 60
ชั่วโมง
จำนวน 1.5 หน่วยกิต
ศึกษาความหลากหลายของระบบนิเวศ การเปลี่ยนแปลงแทนที่ของระบบนิเวศ
องค์ประกอบของ ระบบนิเวศ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เซลล์และโครงสร้างพื้นฐานของเซลล์
การลำเลียงสารเข้า และออกจากเซลล์ การรักษาดุลยภาพของน้ำและแร่ธาตุ กรด-เบส อุณหภูมิในร่างกายมนุษย์ ระบบภูมิคุ้มกัน ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน
การสร้างอาหารของพืชด้วยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง สารสังเคราะห์ จากพืช
ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช การตอบสนองของพืชต่อสิ่งเร้า
ยีนและการถ่ายทอดลักษณะ ทางพันธุกรรม
การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมระดับยีนและโครโมโซม
การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ
วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตจากการคัดเลือกโดยธรรมชาติ การคัดเลือกโดยธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต
โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์กระบวนการสืบเสาะหาความรู้
การสืบค้นข้อมูล การสังเกต
การวิเคราะห์ การอธิบาย การอภิปราย และการสรุป
เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด
ความเข้าใจ มีความสามารถ ในการตัดสินใจ
สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนําความรู้ไปใช้ในชีวิตของตนเองและดูแลรักษาสิ่งมีชีวิตอื่น
ๆ เฝ้าระวัง และพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม
และค่านิยมที่เหมาะสม
ตัวชี้วัด
ว 1.1 ม.4/1 ม.4/2 ม.4/3 ม.4/4
ว 1.2 ม.4/1 ม.4/2 ม.4/3 ม.4/4 ม.4/5 ม.4/6 ม.4/7 ม.4/8 ม.4/9 ม.4/10 ม.4/11 ม.4/12
ว 1.3 ม.4/1 ม.4/2 ม.4/3 ม.4/4 ม.4/5 ม.4/6
รวม 22 ตัวชี้วัด
คำอธิบายรายวิชาเพิ่มเติม
ฟิสิกส์5 ว33205 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560)
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เวลา 80 ชั่วโมง จำนวน 2.0 หน่วยกิต
---------------------------------------------------------------------------------------------
ศึกษาสนามแม่เหล็ก แรงแม่เหล็ก โมเมนต์ของแรงคู่ควบกระทำต่อขดลวดที่มีกระแสไฟฟ้าผ่านเมื่ออยู่ในสนามแม่เหล็ก กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำ อีเอ็มเอฟเหนี่ยวนำ ไฟฟ้ากระแสสลับ ความร้อน แก๊สอุดมคติ ทฤษฎีจลน์ของแก๊ส ของแข็ง สภาพยืดหยุ่นของของแข็ง ความตึงผิว ความหนืดของของเหลว ความดันในของไหล แรงพยุง ของไหลอุดมคติ สมการต่อเนื่อง และสมการแบร์นูลลี โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ การสืบค้นข้อมูล การสังเกต วิเคราะห์ เปรียบเทียบ อธิบาย อภิปราย และสรุป เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ มีความสามารถในการตัดสินใจ มีทักษะปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ รวมทั้งทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ในด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการคิดและการแก้ปัญหา ด้านการสื่อสาร สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในชีวิตของตนเอง มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม
1. การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย
2. คลื่น
3. แสงเชิงคลื่น
4. แสงเชิงรังสี
ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิต การศึกษาชีววิทยาโดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ การนำความรู้เกี่ยวกับชีววิทยามาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน โครงสร้างและหน้าที่ของสารเคมีที่เป็นองค์ประกอบในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ปฏิกิริยาเคมีในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต โครงสร้างและหน้าที่ของส่วนประกอบของเซลล์ การแพร่ การออสโมซิส การแพร่แบบฟาซิลิเทต แอกทีฟทรานสปอร์ต การลำเลียงสารโมเลกุลใหญ่ การแบ่งเซลล์ และการหายใจระดับเซลล์
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (Science)
โครงสร้าง และหน้าที่ของราก ลำต้น
และใบ ของพืชดอก การคายน้ำของพืช การลำเลียงน้ำของพืช
การลำเลียงธาตุอาหารของพืช การลำเลียงสารอาหารของพืช การสังเคราะห์ด้วยแสง กลไกการเพิ่มความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในพืช
CAM การสืบพันธ์แบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศของพืชดอก สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช และ การตอบสนองของพืชต่อสิ่งแวดล้อม
ว32223 เคมี 3 มีเนื้อหา 3 บทเรียน ได้แก่
1. แก๊สและสมบัติของแก๊ส
2. อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
3. สมดุลเคมี
ว31221 เคมี1 (ครูศุภวรรณ งามแสง)
ศึกษาเกี่ยวกับสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายของสารเคมี ศึกษาการพิจารณาความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ได้จากการวัดจากความเที่ยงและความแม่น เลขนัยสำคัญ หน่วยวัดในระบบเอสไอ แฟกเตอร์เปลี่ยนหน่วย
ศึกษาแบบจำลองอะตอม เขียนและแปลความหมายสัญลักษณ์นิวเคลียร์ของธาตุ เขียนการจัดเรียงอิเล็กตรอน ตารางธาตุในปัจจุบัน แนวโน้มสมบัติบางประการของธาตุในตารางธาตุ
ศึกษาพันธะเคมี สัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิสและกฎออกเตต การเกิดพันธะไอออนิก การเกิดพันธะโคเวเลนต์ รูปร่างและสภาพขั้วของโมเลกุลโคเวเลนต์ แรงยึดเหนี่ยวต่าง ๆ การเกิดพันธะโลหะและสมบัติของโลหะ และการนำสารประกอบชนิดต่าง ๆ ไปใช้ประโยชน์
เคมี 5 รหัส ว33225
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 จำนวน 1.5 หน่วยกิต 60 ชั่วโมง
สารประกอบอินทรีย์ที่มีพันธะเดี่ยว พันธะคู่ หรือพันธะสาม สูตรโครงสร้าง หมู่ฟังก์ชัน การเรียกชื่อสารประกอบอินทรีย์ ไอโซเมอร์โครงสร้าง จุดเดือดและการละลายในน้ำ ปฏิกิริยาการเผาไหม้ ปฏิกิริยากับโบรมีน หรือปฏิกิริยากับโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต ปฏิกิริยาเอสเทอริฟิเคชัน การสังเคราะห์เอไมด์ ไฮโดรลิซิส สะปอนนิฟิเคชัน การนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันและอุตสาหกรรม พอลิเมอร์ โครงสร้างและสมบัติของพอลิเมอร์ พลาสติกและผลิตภัณฑ์ยาง รวมทั้งการนำไปใช้ประโยชน์ การสังเคราะห์พอลิเมอร์ ผลกระทบจากการใช้และการกำจัดผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์และแนวทางแก้ไข